Get in touch

งานสัมมนาเปิดเคล็ดลับฉบับ TAS19 / TFRS9

ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567
ณ โรงเเรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินอล 21, ห้องอโศก 2

ทางบริษัท บลูเวนเจอร์ แอคชัวเรียล จำกัด (BVA) ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “เปิดเคล็ดลับ TAS19 / TFRS9”
โดยในงานสัมมนานี้ได้จัดขึ้นเพื่อ เป็นการทบทวนความรู้แก่ผู้สอบบัญชี และแนะนำแนวทางในการตรวจสอบผลลัพธ์
จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานทั้ง 2 มาตรฐาน ได้แก่

  1. มาตรฐานบัญชีฉบับที่ 19 (TAS19) เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน
  2. มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS9) เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน

โดยทีมงานนักคณิตศาสตร์ประกันภัยระดับเฟลโล่ หรือ เฟลโล่ แอคชัวเรียล (Fellow Actuarial) จากทาง
บริษัท บลูเวนเจอร์ แอคชัวเรียล จำกัด (BVA) ทั้ง 2 ท่าน ได้แก่

  • คุณธัญนพ เหล่าสุขศรีงาม (FCAS, FAS และ FSAT) กรรมการบริหารสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
    แห่งประเทศไทย
  • คุณวศิน ประเวศโชตินันท์ (FSA และ FSAT) ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย

โดยมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมในงานสัมมนานี้ ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ รวมถึงผู้สอบบัญชี จากสถาบัน
สอบบัญชี (Auditor Firm) ชื่อดังกว่า 18 บริษัท เข้าร่วมในงาน


หัวข้อการบรรยายที่ 1 : การประเมินผลประโยชน์พนักงานตาม TAS19

ในหัวข้อแรก ได้บรรยายถึงบทบาทของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย กับการประเมินผลประโยชน์พนักงาน
(Defined Benefit Obligation – DBO), กระบวนการในการประเมิน รวมถึงสมมติฐานการคำนวณจาก
นักคณิตศาสตร์ประกันภัยของ BlueVenture Actuarial โดยมีรูปแบบการประเมินทั้ง

  1. การคำนวณอย่างง่าย (Simplified Approach)
  2. การคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method : PUC) โดยวิธีนี้เหมาะ
    สำหรับกิจการที่ทำบัญชีแบบมีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities หรือ PAEs)
    เช่น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (มหาชน) ที่ต้องดำเนินธุรกิจในการดูแลทรัพย์สินของ
    กลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง หรือกิจการที่กำลังจะเข้าสู่การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
    (Initial Public Offering หรือ IPO)

นอกจากนี้ยังแนะนำเทคนิคในการอ่านผลลัพธ์เบื้องต้น และข้อสังเกตต่างๆ จากการคำนวณ

หัวข้อการบรรยายที่ 2 : การพัฒนาแบบจำลองด้านเครดิตตาม TFRS9

สำหรับในหัวข้อที่ 2 ผู้บรรยายได้บรรยายถึง เครื่องมือทางการเงิน ตามมาตรฐานมาตรฐานการรายงานทาง
การเงินฉบับที่ 9 (TFRS9 หรือ IFRS9) ในการพัฒนาแบบประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ด้วยวิธีการพัฒนาแบบจำลองในแบบต่างๆ ทั้ง

  1. การพัฒนาแบบจำลองอย่างง่าย (Simplified Approach) ซึ่งเป็นวิธีการ ซึ่งเหมาะสำหรับสินทรัพย์ประเภท
    > บัญชีลูกหนี้การค้า
    > ลูกหนี้ตามสัญญาเช่า และสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากสัญญา
    โดยเป็นการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุเสมอ (Lifetime ECL)
    ด้วยเทคนิค Rolling Rate Method
  2. การพัฒนาแบบจำลองมาตรฐาน (General Approach) เพื่อประเมินผลขาดทุนด้านเครดิต สำหรับสินทรัพย์
    ทางการเงิน เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ เป็นต้น โดยเป็นการนำองค์ประกอบต่างๆ มาพิจารณา เพื่อพัฒนาแบบจำลอง
    อาทิ
    > ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น : Expected Credit Loss – ECL
    > ความน่าจะเป็นที่จะผิดนัดชำระ : Probability of Default – PD
    > ค่าความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระ : Loss Given Default – LGD
    > ยอดหนี้หรือประมาณการยอดหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระ : Exposure At Default – EAD
    > อัตราดอกเบี้ยบนหน้าสัญญา (Effective Interest Rate – EIR) : Discount Factor – DF

รวมถึงเทคนิคในการคาดการณ์สภาวการณ์ในอนาคต (Forward Looking)

ผู้บรรยายยังได้บรรยาย ประสบการณ์ของทางบริษัทฯ ในการพัฒนาแบบจำลองสำหรับธุรกิจเฉพาะ สำหรับ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Company: AMC) ในการประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่
คาดว่าน่าจะเกิด (Expected Credit Loss : ECL) ด้วย

เทคนิคพิเศษสำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่เรียกว่า Special Approach for
Purchased or Originated Credit-Impaired Assets (POCI Asset)

โดยเทคนิคการพัฒนาแบบจำลองนี้ จะเหมาะสำหรับธุรกิจ ซึ่งมีลักษณะการดำเนินธุรกิจในการซื้อสินทรัพย์
ด้อยคุณภาพ จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการ เช่น หนี้เสีย (Non-Performing Loan หรือ NPL)


บลูเวนเจอร์ แอคชัวเรียล ขอขอบคุณคำชื่นชม จากทาง Grant Thornton Thailand

เครดิตภาพจาก >> Linkedin: Grant Thornton Thailand